fbpx
Search
Close this search box.

จริงไหมสมุนไพรช่วยลดความดัน

สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่หาได้ง่าย ช่วยดูแลสุขภาพและยังรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ดี

“การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” คำกล่าวนี้ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ก็ยังคงได้ยินกันอยู่เสมอ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมคนโบราณ ปู่ ย่า ตา ยาย ท่านถึงไม่มีโรคประจำตัวและอายุยืนยาว ทั้งๆที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์สมัยก่อนยังไม่เหมือนกับปัจจุบัน นั่นเป็นเพราะ คนโบราณได้มีการศึกษาหาสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพและรักษาร่างกาย ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ยังเป็นที่ยอมรับกันมากยิ่งขึ้น

เชื่อว่าคนไทยทุกคนน่าจะคุ้นหูและเคยกินสมุนไพรทั้ง 2 ตัวนี้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะนำมาปรุงอาหาร ทำน้ำสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆหลากหลายชนิด ที่สำคัญหาง่าย ราคาก็แสนจะถูก นั่นก็คือ ตะไคร้ และ กระเจี๊ยบแดง

ตะไคร้

ตะไคร้ เป็นพืชท้องถิ่นที่หาง่าย ราคาถูก เป็นพืชล้มลุก รวมกันอยู่เป็นกอใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบยาวแคบมีกลิ่นหอม มีเหง้าแข็งใต้ดิน ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ สารสำคัญที่พบ คือ น้ำมันหอมระเหย ชื่อว่า Lemon grass oil หรือ Verbena oil หรือ Molissa oil ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น Citral ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ทางยาใช้ขับลม ขับเหงื่อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดความดันโลหิต

สูตรเด็ดทำน้ำตะไคร้

  • นำตะไคร้ที่เตรียมไว้ล้างน้ำให้สะอาด
    เติมน้ำ 3 ลิตรใส่หม้อ ตั้งไฟจนน้ำเดือด โดยใช้ไฟกลาง
    ใส่ตะไคร้ 1 – 2 กำมือลงไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 5 – 7 นาที
    ต้มจนน้ำออกสีเขียวอ่อนๆ หรือมีกลิ่นหอมของตะไคร้
    นำน้ำตะไคร้ที่ได้มากรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบางอีกที
    พักให้เย็น แล้วกรอกใส่ขวดแช่เย็น ดื่มได้ทันที

เคล็ดลับ: ***เติมน้ำผึ้ง หรือ มะนาวเล็กน้อย ตามชอบ เพื่อความอร่อยยิ่งขึ้น

กระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชปีเดียว ต้นเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีชมพูตรงกลางดอกมีสีเข้มกว่าส่วนนอก สารสำคัญที่พบ คือ กลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanins) เช่น สารไซยานิดิน (cyanidin) เดลฟินิดิน (delphinidin)

ข้อมูลการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่า กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะใสกว่าเดิม ขับกรดยูริกทางปัสสาวะ เพิ่มการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ ลดการเกิดนิ่ว ลดความดันโลหิตและลดไขมันในเลือดได้

สูตรเด็ดทำน้ำกระเจี๊ยบ

  • ดอกกระเจี๊ยบสดแกะเมล็ดออก ล้างน้ำให้สะอาด (ถ้าไม่มีดอกกระเจี๊ยบสด ใช้ดอกแห้งแทนได้)
  • เติมน้ำใส่หม้อ ใส่ดอกกระเจี๊ยบ ต้มด้วยไฟกลางประมาณ 30-40 นาที
  • ต้มจนน้ำออกสีแดงเข้มๆ
  • เมื่อน้ำกระเจี๊ยบได้ที่ ตักดอกกระเจี๊ยบออก กรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบางอีกที
    พักให้เย็น แล้วกรอกใส่ขวดแช่เย็น ดื่มได้ทันที

เคล็ดลับ: ***เติมน้ำผึ้ง หรือ น้ำตาลเล็กน้อย ตามชอบ เพื่อความอร่อยยิ่งขึ้น

อ้างอิง

 

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเงียบและมักจะไม่มีอาการที่จำเพาะชัดเจน ในบางคนอาจมีอาการได้ ดังต่อไปนี้

  • ปวดศรีษะและบริเวณท้ายทอย
  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ใจสั่น นอนไม่หลับ
  • ตามัว มือเท้าชา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

หากไม่ได้รับการักษาหรือปล่อยให้ความโลหิตสูงเป็นเวลานานๆ ร่วมกับการมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต และโรคหัวใจ ผู้ป่วยอาจเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญต่างๆตามมาได้ เช่น สมอง ประสาทตา หัวใจ ไต หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิต เนื่องจากความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) หลอดเลือดตีบ และเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ไม่ดีเท่าที่ควร

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

  1. ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ประมาณ 90-95% มักตรวจไม่พบโรค ภาวะผิดปกติ หรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5-10% อาจตรวจพบโรค ภาวะผิดปกติ หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ได้แก่ โรคไต หลอดเลือดแดงตีบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำเกิดโรคความดันโลหิตสูง

  • พันธุกรรม
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • น้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมสูง และอาหารเค็มเป็นประจำ
  • ความเครียด
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอกอฮอลล์
  • การใช้ยาบางชนิด

แนวทางการรักษาและวิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นสิ่งแรกที่ควรทำในการดูแล รักษา โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประกอบด้วย

  • การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยให้มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 5-22.9 กก./ม2 และมีเส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับผู้ชายควรมีค่าน้อยกว่า 90 ซม. และผู้หญิงน้อยกว่า 80 ซม.
  • การจำกัดโซเดียมในอาหาร การบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มก./วัน สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ทั้งผู้ป่วยที่มีและไม่มีโรคความดันโลหิตสูง โดยเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มก. น้ำปลา 1 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 350-400 มก. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 320-455 มก. และผงชูรส 1 ช้อนชามีโซเดียมประมาณ 492 มก. ก่อนการหยิบใช้หรือปรุงแต่งอะไรแต่ละที ก็นึกถึงค่าเหล่านี้ให้ดีๆ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยในแต่ละวันอาจแบ่งออกกำลังกายเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละ 10 นาที วันละ 3 ครั้ง และเตือนตัวเองให้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาลดพฤติกรรมนั่งๆนอนๆ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักตัว
  • จำกัดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าเป็นคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้วก็ถือว่าดีเลยและก็ไม่แนะนำให้กินด้วย ส่วนใครที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้างตามโอกาสหรือดื่มเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 ดื่มมาตรฐานต่อวัน ผู้ชายไม่ควรเกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน
    • ปริมาณ 1 ดื่มมาตรฐานของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ว่านี้ หมายถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 – 15 กรัม เช่น
      • เหล้าขาว 35 ดีกรี ปริมาณ 2 ฝาใหญ่ หรือ30 มล.
      • เหล้าขาว 40 ดีกรี ปริมาณ 30 มล.
      • สาโท สุราแช่ สุราพื้นเมือง 6% ปริมาณ 4 เป๊ก หรือ200 มล.
      • เบียร์ 5% ปริมาณ 240 มล.
      • เบียร์ 6.4% ประมาณครึ่งกระป๋อง หรือ 1/3 ขวดใหญ่
      • ไวน์ 12% ปริมาณ 100 มล.
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่อาจไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการลดความดันโลหิต แต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

2. รับประทานยาและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ ห้ามขาดยา ไม่ควรหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนยาด้วยตัวเอง และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัด และมักไม่มีอาการแสดง การตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง จะช่วยให้เรารับรู้การเปลี่ยนแปลงสุขภาพของตัวเอง และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหากเกิดความผิดปกติต่อร่างกาย

อ้างอิง

บริษัท เพียวเฮลท์ไทย จำกัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมแอดไลน์